การนำเข้าและการจัดจำหน่ายผักทุกชนิด (จากสนามบินนาริตะ ถึงผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น)




1. หลังจากสินค้าเดินทางมาถึงประเทศญี่ปุ่น ทางเจ้าหน้าที่ของสายการบินจะทำการตรวจเช็ค
สภาพสินค้า เพื่อตรวจสอบจำนวนสินค้า และความเสียหายของสินค้า

หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจเช็ค จะเก็บสินค้าภายในตู้แช่เย็น ของทางสายการบิน เพื่อความสดของสินค้า

2. ขั้นตอนยื่นขอความจำนง ในการตรวจขอตรวจผักผลไม้(Application for plant
quarantine)

เพื่อตรวจสอบว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้น เป็นสินค้าที่ห้ามนำเข้า, เป็นโรคพืช หรือมีแมลงเจือปนหรือไม่ หากตรวจพบสิ่งที่ขัดต่อกฎการนำเข้า ต้องดำเนินการแก้ไข เช่น หากตรวจพบสินค้าห้ามนำเข้า ต้องทำลายทิ้งทันที หรือ ในกรณีตรวจเจอหนอนหรือแมลง ต้องกำจัดด้วยการอบก๊าซ ซึ่งผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด

3. ขั้นตอนการยื่นเอกสารแจ้งการนำเข้าอาหาร ที่ กระทรวงสาธารณสุขฯ ประเทศญี่ปุ่น (Recept of Import Noritification for foods and related products) สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท

3.1 ผักที่อยู่ภายในข้อบังคับการตรวจสารพิษตกค้าง
หลังจากยื่นเอกสารแจ้งการนำเข้าแล้ว ต้องส่งตรวจสารพิษตกค้าง ซึ่งใช้เวลาตรวจอย่างน้อย 4 วันทำการ ในระหว่างนี้ผักจะยังคงถูกเก็บไว้ในห้องแช่เย็น เพื่อความสด หากไม่พบสารพิษตกค้าง ก็จะได้รับเอกสารคืน และสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้ แต่ถ้าหากตรวจพบในปริมาณที่เกินกว่ากำหนด จะถูกทำลายทิ้งทั้งหมด ซึ่งผักแต่ละชนิด สารที่บังคับตรวจ และเกณฑ์ที่ตรวจจะไม่เหมือนกัน หลังที่ได้ทำลายทิ้งแล้ว ผู้นำเข้าต้องหาทางแก้ไข และวีธีป้องกัน และแจ้งต่อกระทรวงสาธารณสุขฯ ของญี่ปุ่น ต่อไป

3.2 ผักที่ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับการตรวจสารพิษตกค้าง
หลังจากยื่นเอกสารแจ้งการนำเข้าอาหารแล้ว สามารถรับเอกสารได้ทันที แต่บางครั้งเจ้าหน้าที่อาจขอสุ่มตรวจสารพิษตกค้าง หรือที่เรียกว่า Monitaring Inspection การตรวจนี้จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ถ้าหากตรวจพบสารพิษตกค้าง จะต้องทำลายสินค้าทิ้งทันที พร้อมทั้งส่งเอกสารชี้แจงสาเหตุการตรวจพบสารพิษตกค้าง, แหล่งที่มา, ผู้ส่งออก, การป้องกัน ฯลฯ กรณีการสุ่มตรวจสารตกค้าง เช่น ยาฆ่าแมลงตามชนิดที่ระบุ ณ สำนักงานสาธารณสุข ผักที่ถูกสุ่มตรวจแล้ว จะมีฉลากสีเขียวติด

ปัจจุบันในกฎข้อบังคับการส่งออกของผักบางชนิด ระบุว่าต้องผ่านการตรวจสารพิษตกค้าง โดยต้องได้รับเอกสารยืนยันผลการตรวจ(CERTIFICATE OF PESTICIDE RESIDUES) จากกระทรวงเกษตรฯประเทศไทย ก่อนจึงจะสามารถส่งออกได้

 

4. ขั้นตอนรวบรวมเอกสารเพื่อเสียภาษี ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ภาษี ก็สามารถขอตรวจสินค้าได้เช่นกัน เพื่อดูว่าสินค้าตรงตามเอกสาร หรือมีการลักลอบนำเข้าสินค้านอกเหนือรายการที่นำเข้าหรือไม่

5. ขั้นตอนการเสียค่า Terminal service charge ที่สายการบินที่สินค้าเดินทางมา และรับสินค้า เป็นการเสร็จขั้นตอนการนำเข้า

6. ขั้นตอนการจัดจำหน่าย ก่อนที่สินค้าจะถูกนำเข้าเก็บในตู้แช่เย็นของทางบริษัทฯ และ ก่อนการจัดส่งให้ลูกคัา จะมีการตรวจสภาพผัก ว่ามีผักที่เสียหายหรือไม่ เพื่อที่ลูกค้าจะได้สินค้าที่มีคุณภาพสูงสุด


กลับหน้าหลัก

 

เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค พีเคสยามควบคุมดูแลให้ผักและผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศไทย ปลอดภัยจากการใช้ยาฆ่าแมลง และสารตกค้าง โดยควบคุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่แปลงปลูก การขนส่ง จนมาถึงญี่ปุ่น ด้วยระบบบาร์โค้ด

ร้านอาหารไทยแก้วใจ... หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์... PKT2J Advertising (Thailand)
สถานทูตไทยประจำกรุงโตเกียว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(โตเกียว)
สำนักงานพาณิชย์(กรมส่งเสริืมการส่งออก)
Visitors ...
© P.K. Siam Co., Ltd. All Rights Reserved. Design and operate b PKT2J Advertising Co., Ltd. (Thailand). A subsidiary of P.K. Siam Co., Ltd.